ข่าวจากสื่อสิ่งพิมพ์และข่าวแจ้งสื่อมวลชน

10 เรื่องน่ารู้ DOHOME ค้าปลีกวัสดุก่อสร้างน้องใหม่


บริษัท ดูโฮม จำกัด (มหาชน) หรือ DOHOME น้องใหม่ธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง ด้านวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์ ตกแต่งบ้าน กำลังจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (SET) วันที่ 6 ส.ค.นี้
ทีมข่าว 'อีไฟแนนซ์ไทย' เจาะลึก 10 เรื่องน่ารู้ของหุ้น DOHOME จากข้อมูลในแบบไฟลิ่ง มาเพื่อให้นักลงทุนที่มีความสนใจ ศึกษาข้อมูลเตรียมความพร้อมก่อนเข้าลงทุน

1.ทำธุรกิจค้าปลีก-ส่งวัสดุก่อสร้าง

ดูโฮม หรือ DOHOME ดำเนินธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง และให้บริการด้านวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน รวมถึงบริการที่เกี่ยวข้อง ภายใต้ชื่อทางการค้า 'ดูโฮม' มีสัดส่วนรายได้จากกลุ่มสินค้าวัสดุก่อสร้าง โดยมีศูนย์จำหน่ายวัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้านแบบครบวงจร(One-stop Home Products Destination)ในชื่อว่า 'มหาอาณาจักรบ้าน' ปัจจุบันเปิดดำเนินการแล้วทั้งหมด 9 สาขา ใน 9 จังหวัด ได้แก่ 1.อุบลราชธานี 2.นครราชสีมา 3.รังสิต 4.ขอนแก่น 5.อุดรธานี 6.พระราม 2 7.บางบัวทอง 8.เชียงใหม่ 9.บางนา

2.ราคาไอพีโอ 7.80 บาท P/E 29 เท่า ต่ำกว่าธุรกิจเดียวกันที่ 35.8 - 37 เท่า

DOHOME กำหนดราคาเสนอขายหุ้นไอพีโอที่ 7.80 บาทต่อหุ้น จากการสำรวจความต้องการซื้อหุ้น(Bookbuilding)จากนักลงทุนสถาบันในแต่ละระดับราคา คิดเป็นอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิ(P/E)ที่ 29 เท่า คำนวณจากกำไสุทธิในช่วง 12 เดือนย้อนหลัง(ไตรมาส 2/61 ถึง ไตรมาส 1/62 ) เท่ากับ 499.8 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นหลังเสนอขายไอพีโอ 1,856.16 ล้านหุ้น ได้กำไรสุทธิต่อหุ้น(EPS) ที่ 0.27 บาทต่อหุ้น

DOHOME มีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน ดังนี้

  1. บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ HMPRO มี P/E อยู่ที่ 35.8 เท่า
  2. บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLOBAL มี P/E อยู่ที่ 37 เท่า

3.มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน 56.16 ล้านหุ้น

DOHOME มีการจัดสรรหุ้นสามัญส่วนเกิน(Overallotment)เพื่อรองรับกรณีมีผู้จองซื้อมากกว่าที่เสนอขายอีก 56.16 ล้านหุ้น

อนึ่ง DOHOME ขายหุ้นไอพีโอทั้งหมด 465.04 ล้านหุ้น มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกินรองรับกรณีมีผู้จองซื้อมากกว่าที่เสนอขายอีก 56.16 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้(พาร์) 1 บาท/หุ้น มูลค่าทางบัญชีที่ 3.60 บาท/หุ้น (คำนวณ ณ วันที่ 31 มี.ค.62) เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในวันที่ 6 ส.ค. 62 ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) อันเดอร์ไรท์ บล.ภัทร, บล.ธนชาต, บล.ไทยพาณิชย์, บล.กรุงศรี

สัดส่วนเสนอขายหุ้นเป็นดังนี้

4.ครอบครัวตั้งมิตรประชาถือหุ้นใหญ่

บริษัทมีกลุ่มครอบครัว 'ตั้งมิตรประชา' ถือหุ้นก่อนไอพีโอ ทั้งหมด 100% และมีสัดส่วนถือหุ้นหลังไอพีโอ ดังนี้

5.มีหุ้นไม่ติด Silent Period จำนวน 379.11 ล้านหุ้น คิดเป็น 20.4% ของหุ้นทั้งหมด

สัดส่วนหุ้นของ 'ผู้มีส่วนร่วมในการบริหารของบริษัท' ที่ไม่ติด Silent period มีจำนวน 379,112,000 หุ้น คิดเป็น 20.4% ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้

6. กำไรปี 61 ลดลงแรงเพราะมีค่าใช้จ่ายเข้าตลาดหลักทรัพย์

ผลการดำเนินงานปี 59 - ไตรมาสแรกปี 62
      หน่วย:ล้านบาท
ปี รายได้ กำไรสุทธิ อัตรากำไรสุทธิ(%)
59 18692.07 853.45 4.6
60 18664.21 931.38 5
61 18535.17 438.75 2.4
ไตรมาส1/62 4980.24 246.68 5

สาเหตุที่กำไรสุทธิและอัตรากำไรสุทธิลดลงอย่างมากในปี 61 เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการขยายธุรกิจและเตรียมความพร้อมในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

7.อัตราส่วน D/E อยู่ที่ 2.5 เท่า หนี้สินส่วนใหญ่มาจากเงินกู้สถาบันการเงิน

ILM มีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น(D/E) ณ วันที่ 31 มี.ค.62 อยู่ที่ 2.5 เท่า มีหนี้สินรวม 12,571.95 ล้านบาท มาจากหนี้เงินกู้ระยะสั้นและระยะยาวจากสถาบันการเงิน 9,354.19 ล้านบาท ที่เหลือมาจากเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น 3,062 ล้านบาท และอื่นๆ

งบแสดงฐานะการเงิน ณ 31 มี.ค. 62 ดังนี้

สินทรัพย์รวม 17,611 ลบ.
หนี้สินรวม 12,571.95 ลบ.
ส่วนของผู้ถือหุ้น 5,039.05 ลบ.
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น (D/E) 2.5 เท่า
อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) 2.9%
อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) 10.2%

8.เงินระดมทุนส่วนใหญ่นำไปชำระหนี้

บริษัทเตรียมนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหลักทรัพย์ในครั้งนี้ ภายหลังหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ที่จำนวนราว 3,451 ล้านบาท ไปใช้ดังนี้

  • ใช้เงิน 3,000 ล้านบาท ภายในปี 62 เพื่อชำระคืนเงินกู้ยืมให้กับสถาบันการเงิน รวมทั้งใช้ชำระคืนภาระหนี้อื่นที่บริษัทฯ อาจมีขึ้นในอนาคต
  • ใช้เงิน 280 ล้านบาท ภายในปี 62 เป็นเงินลงทุนสำหรับการขยายธุรกิจ
  • ใช้เงิน 10 ล้านบาท ภายในปี 63 เป็นเงินทุนสำหรับพัฒนาระบบสารสนเทศ
  • ใช้ส่วนที่เหลือทั้งหมด ภายในปี 63 เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานของบริษัท

9.มีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นเจ้าหนี้

ณ สิ้น 31 มีนาคม 62 บริษัทมีวงเงินกู้ยืมและยอดเงินกู้คงค้างกับ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ดังนี้ 1.วงเงินกู้ยืมระยะสั้น 3,490 ล้านบาท 2.วงเงินกู้ยืมระยะยาว 2,150 ล้านบาท 3.หนังสือค้ำประกัน(Letter of Guarantee) 185 ล้านบาทและยอดเงินกู้คงค้างรวม 4,101.29 ล้านบาท คิดเป็น 32.6% ของหนี้สินรวม
และมีวงเงินกู้ยืมและภาระหนี้เงินต้นคงเหลือกับธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ดังนี้ 1.วงเงินสินเชื่อประเภทเช่าซื้อ 260 ล้านบาท 2.วงเงินกู้ระยะยาว 800 ล้านบาท 3.วงเงินตั๋วสัญญาใช้เงิน 500 ล้านบาท และมียอดเงินกู้คงค้างรวม 51.37 ล้านบาท คิดเป็น 0.4% ของหนี้สินรวม

ทั้งนี้เจ้าหนี้ทั้งสองรายมีส่วนเกี่ยวข้องกับที่ปรึกษาทางการเงิน โดยเจ้าหนี้รายแรกธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) มีสัดส่วนถือหุ้น 99.9% ในบริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัท
ขณะที่ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) มีสัดส่วนถือหุ้น 99.9% ผ่าน บริษัท ทุนภัทร จำกัด (มหาชน) ในบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัท

10.มีนโยบายปันผลไม่น้อยกว่า 30% ของกำไรสุทธิ

บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นแต่ละปีไม่น้อยกว่า 30% ของกำไรสุทธิจากงบเฉพาะกิจการภายหลังจากหักภาษีเงินได้นิติบุคคลและการจัดสรรทุนสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทฯ

ที่มา : efinancethai.com